วิถีแห่งท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย 

 

          การก่อกำเนิดของท่ารำในการแสดงนาฏศิลป์นั้นมาจากการแสดงความรู้สึกออกมาประกอบการพูดเพื่อเน้นหรือสื่อความหมาย

ในชีวิตประจำวัน  ในการแสดงนาฏศิลป์ได้นำเอาท่าทางที่เป็นธรรมชาติเหล่านี้มาประยุกต์สร้างสรรค์ ให้เป็นภาษาทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทน

ภาษาพูดโดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา  ทั้งนี้โดยอาศัยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายแสดงออกมาในลักษณะต่าง ๆ ให้เข้ากับการขับร้อง 

ประกอบเสียงเครื่องดนตรีนานาชนิด  ก่อให้เกิดเป็นท่ารำทางศิลปะอันงดงามเพื่อที่จะใช้สื่อความหมายแทนคำพูดต่าง ๆ นั่นเอง

 

การแสดงออกเป็นท่านาฏศิลป์อาจจำแนกออกได้  ดังนี้

           1.  ท่ารำที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  ฉัน  เรา ท่าน เธอ  เรียก  ไป  มา รับ ปฏิเสธ ที่นี้  ส่ง  ฯลฯ

            2.  ท่ารำแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบท   เช่น  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  เกี้ยวพาราสี  เล้าโลม   กราบ  ไหว้  แปลงกาย  ฯลฯ

            3.  ท่ารำแสดงอารมณ์ภายใน   เช่น  ดีใจ  เสียใจ  โกรธ  รัก   ร้องให้  ฯลฯ

            4.  ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแสดงความหมายโดยเฉพาะ  เช่น   ความยิ่งใหญ่   ความเจริญรุ่งเรือง  ฯลฯ

            5.  ท่ารำที่ใช้แสดงการเลียนแบบกิริยาของสัตว์  เช่น  นก  ปลา  ม้า  ฯลฯ

 

       ท่ารำที่ใช้แทนคำพูด

        - ท่าตัวเราหรือแนะนำตัว

            ตัวพระ    ให้ใช้มือซ้ายจีบอก  มือขวาเท้าสะเอว ศีรษะเอียงไปทางมือขวา  กางขาเล็กน้อย วางเท้าราบ ให้เท้าซ้ายเอียงชี้ไปข้างหน้า

            ตัวนาง    ให้ใช้มือซ้ายจีบอก  มือขวาจีบส่งหลัง ศีรษะเอียงไปทางมือขวาเช่นกันกับตัวพระ  ขาขวาอยู่ข้างหน้า ขาซ้ายอยู่ข้างหลัง

                         ไขว้ขาแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย