ประวัติและความเป็นมา
นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือน
ทางอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์แห่งความสุขหรือความทุกข์ก็ตาม และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบ
ธรรมชาติ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์, เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ
ในสมัยอยุธยามีหลักฐานปรากฏในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า มีการให้จัดแสดงโขน
และการแสดงประเภทอื่นขึ้นในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ในลักษณะที่เกือบจะเหมือนกับรูปแบบของ
นาฏศิลป์ไทยที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันและที่แพร่หลายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยในระหว่าง
ที่ราชอาณาจักรอยุธยายังมีสัมพันธ์ทางการทูตโดยตรงกับฝรั่งเศส ราชทูตฝรั่งเศส ซีมง เดอ ลาลูแบร์ ได้เข้า
มายังประเทศสยาม ในปี ค.ศ. 1687 และพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อได้จดบันทึกทุกอย่าง
เกี่ยวกับประเทศสยาม ตั้งแต่การปกครอง ภาษา ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณี โดย ลาลูแบร์ ได้มีโอกาสได้
สังเกตการแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่างๆในราชสำนักไทย และจดบันทึกไว้โดยละเอียด:->
"ชาวสยามมีศิลปะการเวทีอยู่สามประเภท -> ประเภทที่เรียกว่า "โขน" นั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ
ออก ๆ หลายคำรบตามจังหวะ ซอ และเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากากและถืออาวุธ
แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ
ส่วนการแสดงประเภทที่เรียกว่า "ละคร" นั้น เป็นบทกวีที่ผสมผสานกันระหว่างมหากาพย์ และ
บทละครพูด ส่วน "ระบำ" นั้นเป็นการรำคู่ของหญิงชาย ซึ่งแสดงออกอย่างอาจหาญ ... นักเต้นทั้งหญิง
และชายจะสวมเล็บปลอมซึ่งยาวมาก และทำจากทองแดง นักแสดงจะขับร้องไปด้วยรำไปด้วย พวกเขา
สามารถรำได้โดยไม่เข้าพัวพันกัน เพราะลักษณะการเต้นเป็นการเดินไปรอบๆ อย่างช้าๆ โดยไม่มีการ
เคลื่อนไหวที่รวดเร็วแต่เต็มไปด้วยการบิดและดัดลำตัว และท่อนแขน
นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- รำ คือ การแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชม
ความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี หรือบางที่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลง เช่น การรำหน้าพาทย์
รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
- รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้องมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็น
การแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย,
ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
- รำคู่ เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของ
ตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
- รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา เป็นต้น
- รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่น การรำอาวุธ, รำกระบี่กระบอง
- รำหมู่ เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่น รำอวยพรชุดต่างๆ
- รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง
หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร
- ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัว ใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อ
การแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง เพลง หรือการแต่งกายแบบที่มาจากแรงบันดาลใจจากเรื่องต่างๆเช่น วิถีชีวิต
วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดเดียว
ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
- ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ
ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6 ชุด คือ
- ระบำสี่บท
- ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด
- ระบำพรมมาตร
- ระบำดาวดึงส์
- ระบำกฤษดา
- ระบำเทพบันเทิง
- ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่ง
สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส อาจเป็นระบำที่ได้แรงบันดาลใจจากผู้ประดิษฐ์ที่ต้องการสื่อ
ในเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี
ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลาย เช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย, ระบำไกรราศสำเริง, ระบำไก่, ระบำสุโขทัย
ส่วน ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา
มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุด ได้เกิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจของผู้ที่คิดจะถ่ายทอด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต, การแต่งกาย, ดนตรี, เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้นจะเรียกตามภาษา-
ท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ, ฟ้อนเทียน
ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่นทางภาคอิสาน เช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว, เซิ้งสวิง เป็นต้น
การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือเกณฑ์ที่ใช้กัน
โดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศ สามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง
จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
- ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจ
ประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนง เช่น การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
- ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ
- โนห์ราชาตรี
- ละครนอก
- ละครใน
- ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท คือ
- ละครดึกดำบรรพ์
- ละครพันทาง
- ละครเสภา
- ละครพูด
- ละครร้อง
- ละครสังคีต
- มหรสพ คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ซึ่งจะมีรูปแบบและวิธีการที่เป็น
แบบแผน ได้แก่ การแสดงโขน และหนังใหญ่ เป็นต้น.